กัญชง VS กัญชา ต่างกันอย่างไร

AdobeStock 1024x695 1

บทความจากงานวิจัยกัญชง นี้ ได้เริ่มต้นเมื่อ10กว่าปีก่อน โดย รศ.ดร.สุรพล นธการกิจกุล คณะเภสัชฯมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหัวหน้าโครงการ โดยมีหลายภาคส่วนร่วมทีมวิจัย หนึ่งในนั้นมี ดร.วรพล วังฆนานนท์ จากบริษัท ทีเอ็นเคบิวตี้ จำกัด (เดิมชื่อ มินเทคแล็ปฯ) และยังมีผลงานต่อเนื่องเกี่ยวกับกัญชงมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะได้นำเสนอในบทความต่อไป ใครที่ยังไม่ทราบความแตกต่างของกัญชงและกัญชา และคุณสมบัติของสารสำคัญในกัญชง สามารถอ่านได้จากบทความตาม link นี้ได้เลยครับ

 

https://www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/n42.php

Capture2
ทีมนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย รศ.ดร.ภก.สุรพล นธการกิจกุล และนักวิจัยจาก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ , มหาวิทยาลัยแม่โจ้ , สำนักงาน ป.ป.ส. , องค์การสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ , มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและ บริษัท มินเทค แล็ปบอราทอรี่ จำกัด (บริษัท ทีเอ็นเคบิวตี้ จำกัด )กรุงเทพฯ ได้ร่วมกันบูรณาการงานวิจัย กัญชงหรือเฮมพ์ ( Cannabis sativa L.var. sativa) ซึ่งเป็นพืชที่ได้รับการส่งเสริมเป็น พืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูงโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พ.ศ. 2552-2556 ผ่าน มูลนิธิโครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน)

ความแตกต่างของกัญชงและกัญชา ได้แก่ สารสำคัญในกัญชาและกัญชงหลักๆ มี 3 ชนิด คือ Tetrahydrocannabinol (THC), Cannabinol (CBN) และ Cannabidiol (CBD) ซึ่ง THC เป็นสารเสพติด โดยในกัญชงจะมีสาร THC ต่ำมาก แต่ในขณะที่กัญชาจะมีสาร THC สูง มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการตื่นเต้น ช่างพูด หัวเราะตลอดเวลา หากเสพต่อเนื่องทำให้มีอาการเสพติดได้ และส่งผลอันตรายต่อร่างกาย

ภาพความแตกต่างระหว่างกัญชง กับ กัญชา

ลักษณะภายนอกของลำต้น กิ่งก้าน และใบ ก็แตกต่างกัน กัญชงจะมีลำต้นสูงเรียว ลำต้นหักง่าย ส่วนกัญชาลำต้นเป็นพุ่มเตี้ยกว่ากัญชง ในส่วนของยอด-ช่อดอก กัญชงจะมีลักษณะช่อดอกสั้นกว่ากัญชา มีจำนวนช่อดอกน้อยและมียางน้อยกว่ากัญชา ใบกัญชงมีลักษณะรูปทรงอ้วน แยกเป็นแฉกประมาณ 7-11 แฉก มีสีเขียวอมเหลือง แตกต่างกับใบกัญชาจะมีลักษณะเรียว ยาว ใบแยกเป็นแฉกประมาณ 5-7 แฉก สีเขียวถึงเขียวจัด

ปัจจุบันรัฐบาลสนับสนุนให้มีการส่งเสริมกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจ ภายใต้การกำหนดระบบการควบคุมที่เหมาะสม โดยอนุญาตให้หน่วยงานภาครัฐ (หมายถึง ราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐตามกฎหมาย) ทดลองปลูกเพื่อการวิจัยในด้านเมล็ดพันธุ์ ส่งเสริมการปลูกพัฒนากระบวนการแปรรูปเป็นเส้นใย และผลิตภัณฑ์จากเส้นใย เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากพืชเสพติดให้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างประโยชน์และรายได้ให้กับประเทศต่อไปในอนาคต

กัญชงในอุตสาหกรรมความงาม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *