Alcohor Gel
ก่อนหน้าที่จะเกิดภาวะแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้ “แอลกอฮอล์เจล”เป็นเครื่องมือแพทย์ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 มีนาคม 2563เนื่องจากเหตุผลที่ว่า สูตรที่ผู้ผลิตเครื่องสำอางผลิต ส่วนใหญ่จะมีแอลกอฮอล์ในสูตรไม่ถึง70% ทำให้เชื้อโรคดื้อยา สร้างความงวยงงกับผู้ประกอบการอย่างมากว่า เหตุใดจึงไม่ควบคุมปริมาณให้เป็นไปตามกำหนด แทนที่จะเปลี่ยนให้แอลกอฮอล์เจลเป็นเครื่องมือแพทย์
อย่างไรก็ตามเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่เชื้อได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น สินค้าที่เกี่ยวข้อง เช่น หน้ากากอนามัย และแอลกอฮอล์เจล เป็นต้น เริ่มขาดตลาดอย่างรุนแรง นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ตัดสินใจยกเลิกประกาศดังกล่าว โดยให้ “แอลกอฮอล์เจล”กลับมาเป็น “เครื่องสำอาง”เหมือนเดิม โดยต้องมีปริมาณแอลกอฮอล์ในสูตรขั้นต่ำ 70%เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 เนื่องจากตระหนักถึงกำลังการผลิต ที่โรงงานผลิตเครื่องสำอางกว่า 5,000แห่ง ทั่วประเทศ มีความพร้อมในการผลิตแอลกอฮอล์เจลมากกว่าโรงงานผลิตเครื่องมือแพทย์ที่มีจำนวนน้อยกว่ามาก
เมื่อกล่าวถึงสูตรเจลแอลกอฮอล์ที่มีประสิทธิภาพ ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการ อย.ได้แนะนำสูตรไว้หลายสูตร โดยสูตรที่นิยมผลิตในประเทศไทย จะเป็นสูตรที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไทยได้แนะนำไว้ คือ สูตรที่ใช้Ethyl Alcohol 70%, Glycerine 0.5-1%, Triethanolamine 0.35-0.7%, Water q.s. to 100% ส่วนสี น้ำหอม หรือสารสกัดต่างๆ ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตออกแบบให้มีความโดดเด่นและแตกต่างกันไปนอกจากสูตรที่เป็นเจลแล้ว สูตรน้ำยา (Solution) ก็มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่ใกล้เคียงกัน และยังมีสูตรการผลิตที่คล้ายกันมาก แตกต่างกันที่สารสร้างเนื้อเจลเท่านั้น แต่น้ำยาแอลกอฮอล์นั้นสามารถใช้งานได้กว้างขวางกว่าเจล เช่น สามารถไช้ฉีดพ่นสิ่งของที่ต้องสัมผัสได้ เป็นต้น