ฉลากสินค้าอาหารเสริม ตามกฎหมาย

Natac natural extracts for supplements

ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มใส่ใจเรื่องการดูแลสุขภาพร่างกายมากขึ้น  ทำให้การเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์มีบทบาทในชิวิตประจำวันซึ่งการเลือกบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์นั้น ทำให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อผู้บริโภคมากขึ้น

      จากการที่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีความหลากหลายมากขึ้นนี้เอง ที่อาจจะทําให้มีปัญหาด้านความปลอดภัยของผู้บริโภค  ดังนั้นสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงกําหนดมาตรฐานของฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก่อนนําไปใช้

vitamins supplements herbs vitamins how to read a vitamin

ทาง TNK จึงขอรวบรวมข้อมูลการทำฉลากอาหารเสริม เพื่อเป็นแนวทางสำหรับสินค้าอาหารเสริมที่จะผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายต่อไป โดย อย. กำหนดการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค ซึ่งฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค ต้องแสดงข้อความเป็นภาษาไทยแต่จะมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ และ ต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ชื่ออาหาร ต้องไม่ทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ ไม่เป็นเท็จ ไม่เป็นการหลอกหลวงให้เกิดความหลงเชื่อทำให้เข้าใจผิด หรือ ขัดกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทย หรือ ส่อไปในทางทำลายคุณค่าของภาษาไทย และ จะต้องไม่มีความหมายไปในทางกล่าวอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ มีข้อความต่อเนื่องกันในแนวนอน ขนาดตัวอักษรใกล้เคียงกัน อ่านได้ชัดเจน และ ใช้ชื่ออย่างหนึ่งต่อไปนี้

1.1 ชื่อเฉพาะของอาหาร ชื่อสามัญ ชื่อที่แสดงประเภท หรือ ชนิดของอาหาร หรือ ชื่อที่ใช้เรียกอาหารตามปกติ เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสารสกัดจากเมล็ดองุ่น

1.2 ชื่อทางการค้า การใช้ชื่อนี้จะต้องมีข้อความแสดงประเภท หรือ ชนิดของอาหารกำกับที่ชื่อด้วย เช่น ซัมติง (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)

ชื่ออาหารภาษาต่างประเทศ และ ชื่ออาหารภาษาไทย ต้องมีความหมายสอดคล้องกัน เช่น เมล็ดองุ่นสกัด(ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) Grape seed extract (Dietary supplement Product)

       “แสดงข้อความว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นส่วนหนึ่งของชื่ออาหาร หรือ กำกับชื่ออาหาร”

1

2. เลขสารบบอาหาร

3. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต หรือ ผู้ผลิตแบ่งบรรจุ หรือ ผู้นำเข้า โดยหากผลิตในประเทศ แสดงชื่อ และ ที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อจำหน่าย ทั้งนี้ อาจแสดงชื่อ และ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของผู้ผลิตแทนได้

4. ปริมาณของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่บรรจุ แล้วแต่กรณีดังนี้

4.1 ให้แสดงจำนวนบรรจุ (เม็ดหรือแคปซูล) สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อยู่ในรูปเม็ด หรือ แคปซูล

4.2 ให้แสดงปริมาตรสุทธิ สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นของเหลว

4.3 ให้แสดงน้ำหนักสุทธิ สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นของแข็งหรืออื่นๆ

5. แจ้งชื่อชนิด และ ปริมาณส่วนประกอบความสำคัญของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

image 1

6. แสดงข้อความ “ใช้วัตถุกันเสีย” ถ้ามีการใช้

7. แสดงข้อความ “เจือสีธรรมชาติ” หรือ“เจือสีสังเคราะห์”  ถ้ามีการใช้ แล้วแต่กรณี

8. แสดงข้อความ “แต่งกลิ่นธรรมชาติ”  “แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ”  “แต่งกลิ่นสังเคราะห์”  “แต่งรสธรรมชาติ” หรือ “แต่งรสเลียนธรรมชาติ” ถ้ามีการใช้ แล้วแต่กรณี

9. แสดงข้อความ “ใช้……..เป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล” (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชนิดของวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้)

10. แสดงข้อความ “มี……..” ด้วยตัวอักษรสีแดงขนาดตัวอักษรไม่ต่ำกว่า 3 มม. บนพื้นสีขาว (ความที่เว้นไว้ให้ระบุลักษณะของการบรรจุ และ ชนิดของวัตถุที่ใช้เพื่อรักษาคุณภาพ หรือ มาตรฐานของอาหาร เช่น ซองวัตถุกันชื้น  ซองวัตถุดูดออกซิเจน เป็นต้น)

11. ข้อความชัดเจน “การได้รับสารอาหารต่างๆนั้นควรได้จากการบริโภคอาหารหลักที่หลากชนิด ครบทั้ง 5 หมู่ และ เป็นสัดส่วนที่พอเหมาะ”

12. แสดงวัน / เดือน / ปี ที่ผลิต หรือ หมดอายุ หรือ ควรบริโภคก่อน โดยมีคำว่า “ผลิต” หรือ “หมดอายุ” หรือ “ควรบริโภคก่อน” กำกับ โดยแสดงวันเดือน และ ปี เรียงตามลำดับ แล้วแต่กรณีดังนี้

12.1 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เก็บไว้ได้ไม่เกิน 90 วัน ให้แสดงวัน/เดือน/ปี ที่หมดอายุการบริโภค หรือวัน/เดือน/ปี ที่อาหารยังมีคุณภาพ หรือ มาตรฐานดี

12.2 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เก็บไว้ได้เกิน 90 วัน ให้แสดงวัน/เดือน/ปี ที่ผลิต และ เดือน และ ปีที่หมดอายุการบริโภค หรือ เดือนและปีที่อาหารยังมีคุณภาพ หรือ มาตรฐานดี

หากแสดงวัน/เดือน/ปีที่ผลิต และ หมดอายุ หรือ ควรบริโภคก่อน ไว้ที่ด้านล่างของภาชนะบรรจุต้องมีข้อความที่ฉลากระบุตำแหน่งที่แสดงข้อความดังกล่าวด้วย

13. แสดงคำเตือน ต้องปฏิบัติตามประกาศสำนักงานคณะกรรมอาหารและยา

14. คำแนะนำการใช้

15. คำแนะนำในการเก็บรักษา (ถ้ามี)

16. การแสดงข้อความเกี่ยวกับการได้รับการตรวจประเมินสถานที่ผลิต เช่น “ผ่านการตรวจ GMP กฎหมาย” ให้ปฏิบัติตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การแสดงข้อความบนฉลากอาหารเกี่ยวกับการได้รับการตรวจประเมินสถานที่ผลิต

17. การแสดงข้อความกล่าวอ้างทางสุขภาพต้องปฏิบัติดังนี้

17.1 หากกล่าวอ้างเกี่ยวกับบทบาท และ หน้าที่ของสารอาหารให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากโภชนาการ

17.2 หากกล่าวอ้างอื่นๆ นอกเหนือข้อ 17.1 ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเรื่องการกล่างอ้างทางสุขภาพของอาหาร และ คำเตือนของการบริโภคอาหาร (Health Claim)

image 2

อ้างอิง : FDATHAI1 , FDATHAI2

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *