วันนี้ (24 พฤษภาคม 2565) กองควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มีการปรับปรุงการจดแจ้งเครื่องสำอางกัญชง โดยมีใจความสำคัญดังนี้
การใช้กัญชง กัญชา และ ซีบีดี ในเครื่องสำอาง
เครื่องสำอางกัญชง จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
1. กลุ่มเครื่องสำอางที่ใข้น้ำมัน หรือ สารสกัดจากเมล็ดกัญชงเป็นส่วนประกอบ มีข้อกำหนด THC ห้ามเกิน 0.2% W/W ยกเว้น Soft gelatin capsule, ผลิตภัณฑ์ในช่องปาก และ ผลิตภัณฑ์จุดซ่อนเร้น จะห้ามมี THC เกิน 0.001% W/W
2. กลุ่มเครื่องสำอางที่ใช้ส่วนของกัญชงที่ทำให้แห้งแล้ว เช่น เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบ และ เมล็ด (ยกเว้นช่อดอก) จะให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วล้างออก ยกเว้น ผลิตภัณฑ์ในช่องปาก และ ผลิตภัณฑ์จุดซ่อนเร้น ซึ่งกลุ่มนี้ มีข้อกำหนด THC ห้ามเกิน 0.2% W/W เช่นกัน
เครื่องสำอางกัญชา จะให้ใช้ส่วนของกัญชาที่ทำให้แห้งแล้ว เช่น เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบ และ เมล็ด (ยกเว้นช่อดอก) ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วล้างออก ยกเว้น ผลิตภัณฑ์ในช่องปาก และ ผลิตภัณฑ์จุดซ่อนเร้น ซึ่งกลุ่มนี้ มีข้อกำหนด THC ห้ามเกิน 0.2% W/W เช่นเดียวกับกัญชง
เครื่องสำอางซีบีดี (ห้ามใช้ซีบีดีจากการสังเคราะห์) มีข้อกำหนด THC ห้ามเกิน 0.2% W/W ยกเว้น Soft gelatin capsule และน้ำมันห้ามมี THC เกิน 0.001% W/W และห้ามใช้ใน ผลิตภัณฑ์ในช่องปาก และ ผลิตภัณฑ์จุดซ่อนเร้น
การจดแจ้งเครื่องสำอางกัญชง และ กัญชา
อีกสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงคือการจดแจ้งจะใช้เอกสารน้อยลง และ ทำได้ง่ายขึ้น โดยใช้เอกสารเพียง 4 ชุดคือ
1. COA
2. ฉลาก
3. หนังสือรับรองจากกรรมการบริษัท
4. ใบอนุญาตสกัด
โดยสังเกตุได้ว่า เอกสารการเพาะปลูก ต่างๆ รวมทั้ง สัญญาซื้อขาย ได้ลดลงไป
อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดข้างต้นจะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 9 มิถุนายน 2565 นี้
การพิจารณาใช้ข้อความแสดงสรรพคุณบนฉลากและโฆษณาสำหรับเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกัญชาและกัญชง
อีกเรื่องหนึ่งที่ทางกองควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ประชุมในครั้งนี้คือ การพิจารณาใช้ข้อความแสดงสรรพคุณบนฉลากและโฆษณาสำหรับเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกัญชาและกัญชง โดยอ้างอิงจากบทความ และ งานวิจัยที่ อย ได้ทวนสอบ ซึ่งมีใจความสำคัญดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า/ผิวกาย มีส่วนผสมของน้ำมันจากเมล็ดกัญชง หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง
ข้อความที่สามารถใช้ในการแสดงสรรพคุณ : “ช่วยบำรุงผิว” “ช่วยให้ความนุ่มลื่นแก่ผิว” “ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว” “ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอย” “ปกป้องผิวจากริ้วรอย” “มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์” “ผสมสารแอนตี้ออกซิแดนท์” “Skin conditioning” “Emollient” “Gliding skin” “Smoothness skin” “Moisturizing” “Anti-wrinkle” “Anti-oxidant”
2. ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า/ผิวกาย มีส่วนผสมของสาร CBD จากกัญชา กัญชง
ข้อความที่สามารถใช้ในการแสดงสรรพคุณ : “ช่วยบำรุงผิว” “ช่วยให้ความนุ่มลื่นแก่ผิว” “ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว” “ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอย” “ปกป้องดูแลผิว” “ปกป้องผิวจากริ้วรอย” “มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์” “ผสมสารแอนตี้ออกซิแดนท์” “Skin conditioning” “Emollient” “Skin protecting” “Anti-oxidant” “Anti-aging” “Anti-wrinkle”
3. ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม (ทำความสะอาดและบำรุงเส้นผม/หนังศีรษะ) มีส่วนผสมของน้ำมันจากเมล็ดกัญชง หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง หรือสาร CBD จากกัญชา กัญชง
ข้อความที่สามารถใช้ในการแสดงสรรพคุณ : “บำรุง ดูแลเส้นผมหรือหนังศีรษะ” “ทำให้ผมลื่น หวีง่าย” “ลดการขาดหลุดร่วงของเส้นผมที่มีสาเหตุจากเส้นผมพันกัน” “Hair conditioning”
4. ผลิตภัณฑ์ ทุกประเภท ยกเว้น ผลิตภัณฑ์สำหรับช่องปากและจุดซ่อนเร้น มีส่วนผสมของน้ำมันจากเมล็ดกัญชง หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง หรือสาร CBD จากกัญชา กัญชง
ข้อความที่สามารถใช้ในการแสดงสรรพคุณ : “มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์” “ผสมสารแอนตี้ออกซิแดนท์” “Anti-oxidant”
5. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า/ ผิวกาย มีส่วนผสมของสาร CBD จากกัญชา กัญชง
หมายเหตุ : ห้ามใช้ข้อความหรือภาพที่สื่อความหมายถึงประสิทธิภาพในการรักษาสิว หรือลดการอักเสบของสิว
ข้อความที่สามารถใช้ในการแสดงสรรพคุณ : “Anti sebum” “เครื่องสำอางสำหรับผิวที่เป็นสิว” “เครื่องสำอางสำหรับผิวมัน”
6. ผลิตภัณฑ์พอกผิว/ขัดทำความสะอาด มีส่วนผสมของส่วนของกัญชา กัญชง
ข้อความที่สามารถใช้ในการแสดงสรรพคุณ : “ช่วยขัดผิว” “ช่วยขัดทำความสะอาดผิว” “Abrasive”
7. ผลิตภัณฑ์ ทุกประเภท มีส่วนผสมของสาร Terpene ที่ได้จากการสกัดกัญชาหรือกัญชง
ข้อความที่สามารถใช้ในการแสดงสรรพคุณ : “แต่งกลิ่นจากกัญชาหรือกัญชง” “แต่งกลิ่น terpene ที่ได้จากการสกัดกัญชาหรือกัญชง” “Terpene Fragrance”